เมนู

9. พรรณนาขทิรวนิยเรวตเถราปทาน


คำมีอาทิว่า คงฺคา ภาคีรถี นาม ดังนี้ เป็นอปทานของท่าน
พระขทิรวนิยเถระ.
แม้พระเถระนี้ ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อนๆ ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้บังเกิดในตระกูลของ
นายท่าเรือในนครหังสวดี กระทำการงานอยู่ที่ท่าเรือชื่อว่า ปยาคติตถะ
ใกล้แม่น้ำใหญ่. วันหนึ่ง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยหมู่สาวก
เสด็จเข้าไปยังฝั่งแม่น้ำ มีใจเลื่อมใส จึงประกอบเรือขนาน ส่งให้ถึง
ฝั่งอื่นด้วยบูชาสักการะอันยิ่งใหญ่ ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรง
ตั้งไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า จึงปรารถนาฐานันดรนั้น
ได้ยังมหาทานให้เป็นไปแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วกระทำ
ความปรารถนาไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ความปรารถนา
ของเขาไม่เป็นหมัน.
จำเดิมแต่นั้น เขาสั่งสมบุญทั้งหลาย ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสองอยู่ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
ครรภ์ของพราหมณี ชื่อว่า รูปสารี ในบ้านนาลกะแคว้นมคธ. เขาเจริญ
วัยแล้ว มารดาบิดาประสงค์จะตกแต่งให้มีเหย้าเรือน จึงบอกเขา. เขา
ได้ฟังว่า พระสารีบุตรเถระบวชแล้ว จึงคิดว่า อุปติสสะผู้เป็นพี่ชายใหญ่
ของเรา ละทิ้งทรัพย์สมบัตินี้บวชแล้ว เราจักเสวยก้อนเขฬะที่พี่ชายใหญ่
นั้นบ้วนแล้วได้อย่างไร เกิดความสลดใจ ลวงญาติทั้งหลายประดุจเนื้อ
ไม่เข้าไปสู่บ่วง ผู้อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ จึงไปยังสำนักของภิกษุ

ทั้งหลาย แล้วแจ้งให้ทราบว่าตนเป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี แล้ว
บอกถึงความพอใจในการบรรพชาของตน. ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชา
พอมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ก็ให้อุปสมบท แล้วชักชวนให้ขวนขวายในกรรม-
ฐาน. ท่านเรียนกรรมฐานแล้ว เข้าไปยังป่าไม้ตะเคียนพักผ่อนอยู่ เพียร
พยายามอยู่ เพราะเป็นผู้ถึงความแก่กล้าแห่งญาณ ไม่นานนักก็ได้เป็น
พระอรหันต์มีอภิญญา 6. ครั้นท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้ว เพื่อจะถวาย
บังคมพระศาสดาและไหว้พระธรรมเสนาบดี จึงเก็บงำเสนาสนะแล้วถือ
บาตรจีวรออกไป ถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับ จึงเข้าไปยังพระเชตวัน
ถวายบังคมพระศาสดาและไหว้พระธรรมเสนาบดีแล้ว อยู่ในพระเชตวัน
2-3 วัน. ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า
ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ด้วย
พระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรวตะนี้เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวก
ทั้งหลายของเราผู้อยู่ป่าเป็นวัตร.

พระเถระครั้นได้ตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรม
ของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติในกาลก่อนของตน
ด้วยอำนาจความปีติโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า คงฺคา ภาคีรถี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คงฺคา ความว่า ที่ชื่อว่า คงคา เพราะ
ขับกล่อมคือกระทำเสียงกึกก้องไหลไป. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ปฐพี
เขาเรียกกันว่า โค, ที่ชื่อว่าคงคา เพราะวนรอบไหลไปในปฐพีนั้น. แม่น้ำ
คงคา ณ ที่ที่กระทำการวนรอบสระอโนดาต 3 รอบแล้วไหลไป ชื่อว่า
อาวัฏฏคงคา. ณ ที่ที่ไหลไปทางยอดเขา ชื่อว่า พหลคงคา, ณ ที่ที่เซาะเขา
ขวางทะลุไหลไป ชื่อว่า อุมังคคงคา, ณ ที่ที่กระทบเขาหนาจากเขาขวาง

นั้น แล้วไหลพลุ่งขึ้นไปทางอากาศห้าโยชน์ ชื่อว่า อากาสคงคา, และ ชื่อว่า
ภาคีรถี เพราะทำลายที่ที่น้ำตกลง แล้วทำลายฝั่งสระโบกขรณีที่เกิดเอง
ห้าโยชน์ ณ ที่นั้นแหละ เป็นแม่น้ำ 5 สาย เหมือนนิ้วมือ 5 นิ้ว มีชื่อ 5
ชื่อคือ คงคา ยมุนา สรภู มหี และอจิรวดี แล้วกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้
เป็น 5 ภาค 5 ส่วนแล้วไป คือไหลไปยัง 5 ภาค 5 ส่วน. แม่น้ำนั้นด้วย
มีทางไหลไป 5 ส่วนด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าแม่น้ำคงคาภาคีรถี.
พึงเห็นว่า เมื่อควรจะกล่าวว่า ภาคีรถี คงคา เพื่อสะดวกในการประพันธ์
คาถา จึงกล่าวดังเคยประพฤติมา. บทว่า หิมวนฺตา ปภาวิตา ความว่า
ที่ชื่อว่า หิมะ เพราะเบียดเบียนเหล่าสัตว์ คือเบียดเบียนรบกวน ทำให้
วุ่นวายด้วยความหนาว. ชื่อว่า หิมวา เพราะเขานั้นมีหิมะ. ชื่อว่า
หิมวนฺตปภาวิตา เพราะเกิด คือเป็นไป ได้แก่ไหลไปจำเดิมแต่ภูเขา
หิมวันต์นั้น. บทว่า กุติตฺเถ นาวิโก อาสึ ความว่า เราเกิดในตระกูล
ชาวประมง ได้เป็นนายเรืออยู่ที่ท่าไม่เรียบ ประกอบด้วยกระแสอันเชี่ยว
ของแม่น้ำคงคานั้น. บทว่า โอริเม จ ตรึ อหํ ความว่า เราให้
พวกคนผู้มาถึงแล้ว ๆ ข้ามจากฝั่งนอกไปยังฝั่งใน.
บทว่า ปทุมุตฺตโร นายโก ความว่า พระปทุมุตตรพุทธเจ้าผู้สูงสุด
แห่งเหล่าสัตว์ 2 เท้า ทรงนำ คือทรงยังเหล่าสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน
ทรงทำบุญ สมบัติของเราให้สำเร็จ. เชื่อมความว่า พระองค์มีพระผู้ชำนะ
ตนหนึ่งแสน คือมีพระขีณาสพหนึ่งแสน ถึงท่าน้ำ เพื่อจะข้ามกระแสน้ำ
คงคา.
บทว่า พหู นาวา สมาเนตฺวา ความว่า เราเห็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้านั้นผู้เสด็จถึงแล้ว จึงนำเรือหลาย ๆ ลำมาเทียบกัน คือกระทำ

เรือ 2 ลำให้ติดกัน แล้วทำหลังคาด้วยปะรำที่พวกช่างปรุง คือทำเสร็จ
อย่างดีไว้เบื้องบนเรือนั้น แล้วนับถือ บูชาพระนราสภ คือพระสัมพุทธ-
เจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ.
บทว่า อาคนฺตฺวาน จ สมฺพุทฺโธ เชื่อมความว่า เมื่อเอาเรือ
ขนานกันอย่างนั้นแล้ว พระสัมพุทธเจ้าเสด็จมา ณ ที่นั้น แล้วเสด็จขึ้น
ยังเรือ คือนาวาอันเลิศลำนั้น. บทว่า วาริมชฺเฌ ฐิโต สตฺถา เชื่อม
ความว่า พระศาสดาเสด็จขึ้นเรือแล้ว กำลังประทับอยู่ท่ามกลางน้ำ
ในแม่น้ำคงคา ได้ภาษิตคือตรัสพระคาถาอันประกอบด้วยความโสมนัส
เหล่านี้.
บทว่า โย โส ตาเรสิ สมฺพุทฺธํ ความว่า นายเรือนั้นใด
นิมนต์พระสัมพุทธเจ้า ให้ข้ามกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา. บทว่า สงฺฆญฺ-
จาปิ อนาสวํ
ความว่า นายเรือนั้น มิใช่นิมนต์พระสัมพุทธเจ้าให้
ข้ามน้ำอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระสงฆ์ผู้ไม่มีอาสวะหมดกิเลส ก็นิมนต์
ให้ข้ามไปด้วย. บทว่า เตน จิตฺตปสาเทน ความว่า มีจิตเลื่อมใส
อันประกอบด้วยความโสมนัส ซึ่งเกิดขึ้นในกาลขับเรือนั้น จักยินดี คือ
จักเสวยทิพยสมบัติในเทวโลก คือในกามาวจรสวรรค์ 6 ชั้น.
บทว่า นิพฺพตฺติสฺสติ เต พฺยมฺหํ ความว่า พยัมหะ คือวิมาน
ที่ทำไว้เรียบร้อย คือบังเกิดเสร็จแล้ว ตั้งอยู่เหมือนเรือ คือมีสัณฐาน
เหมือนเรือ จักบังเกิด คือจักปรากฏแก่ท่านผู้เกิดขึ้นในเทวโลก. บทว่า
อากาเส ปุปฺผฉทนํ เชื่อมความว่า เพราะวิบากของกรรมที่ได้ทำปะรำไว้
ปะรำเรือหลังคาดอกไม้ จักกางกั้นในอากาศในกาลทุกเมื่อ คือในที่
ที่ไปแล้ว ๆ.

บทว่า อฏฺฐปญฺญาสกปฺปมฺหิ เชื่อมความว่า ล่วงไป 58 กัป
ตั้งแต่กาลที่ทำบุญนี้ จักเป็นกษัตริย์จักรพรรดิ มีนามชื่อว่า ตารกะ จัก
เป็นใหญ่ คือเป็นผู้มีชัยชนะในทวีปทั้ง 4. คาถาที่เหลือมีเนื้อความง่าย
ทั่งนั้น.
บทว่า เรวโต นาม นาเมน ความว่า จักเป็นเผ่าพันธุ์พรหม
ได้แก่เป็นบุตรพราหมณ์ คือจักเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีนามว่า เรวตะ.
เพราะเกิดในเรวดีฤกษ์.
บทว่า นิพฺพายิสฺสินาสโว ความว่า เป็นผู้หมดกิเลสจักนิพพาน
ด้วยขันธปรินิพพาน.
บทว่า วิริยํ เม ธุรโธรุยฺหํ ความว่า เราอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระทรงพยากรณ์อย่างนี้แล้ว ความเพียรของเราถึงที่สุด
แห่งบารมีโดยลำดับ เป็นความเพียรไม่ย่อหย่อน เป็นความเพียรนำธุระ
ไป คือเป็นที่รองรับธุระ เป็นเครื่องนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นแดน
เกษม จากโยคะทั้งหลาย. บทว่า ธาเรมิ อนฺติมํ เทหํ เชื่อมความว่า
บัดนี้ เราทรงสรีระสุดท้ายไว้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกาลต่อมา พระเถระนั้นไปยังบ้านเกิดของตน นำหลาน 3 คน
คือนายจาลา นายอุปจาลา และนายสีสูปจาลา ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาว
3 นาง คือนางจาลา นางอุปจาลา และนางสีสูปจาลา มาให้บวชแล้ว
แนะนำกรรมฐานให้. หลาน ๆ เหล่านั้น ขวนขวายประกอบตามพระ-
กรรมฐานอยู่.
ก็สมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดขึ้นแก่พระเถระ. พระสารีบุตรเถระ
ได้ฟังดังนั้น จึงเข้าไปหาด้วยหวังใจว่า จักทำการถามถึงความป่วยไข้เและ

ถามถึงการบรรลุมรรคผลของพระเรวตะ. พระเรวตะเถระเห็นพระธรรม-
เสนาบดีเดินมาแต่ไกล เมื่อจะโอวาทโดยการทำสติให้เกิดขึ้นแก่สามเณร
เหล่านั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า จาเล ดังนี้. คำว่า จาเล อุปจาเล สีสูป-
จาเล
ในคาถานั้น เป็นคำร้องเรียกสามเณรเหล่านั้น. ก็เด็กทั้ง 3 คน
ซึ่งได้ชื่อเป็นเพศหญิงว่า จาลา อุปจาลา และสีสูปจาลา แม้จะบวชแล้ว
เขาก็ยังเรียกชื่ออยู่อย่างนั้น. บางอาจารย์กล่าวว่า เด็กเหล่านั้นชื่อว่า จาลี
อุปจาลี สีสูปจาลี ดังนี้ก็มี. พระเรวตเถระเมื่อจะแสดงประโยชน์ที่กระทำ
การเรียกมาด้วยคำมีอาทิว่า จาลา ดังนี้. จึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มี
สติอยู่เถิด
ดังนี้ แล้วกล่าวเหตุในการเรียกมานั้นว่า พระเถระผู้เป็นลุง
ของพวกท่านประหนึ่งนักแม่นธนู เดินมาแล้ว ดังนี้. บทว่า ปติสฺสตา
แปลว่า เป็นผู้มีสติ. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอวธารณะห้ามความหมายอย่าง
อื่น. บทว่า อาคโต แปลว่า มาแล้ว. บทว่า โว แปลว่า ของพวก
ท่าน. บทว่า วาลํ วิย เวธิ แปลว่า เหมือนนักแม่นธนู. ก็ในคำนี้มี
ความย่อดังต่อไปนี้. พระเถระผู้เป็นลุงของพวกท่านมีสภาพเหมือนนัก
แม่นธนู คือคล้ายกับพระศาสดา เพราะมีปัญญากล้า มีปัญญาไว และ
มีปัญญาชำแรกกิเลส มาแล้ว, เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงเข้าไป
ตั้งสมณสัญญา คือจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอยู่เถิด คือจงเป็นผู้
ไม่ประมาทในธรรมเครื่องอยู่ตามที่ได้บรรลุแล้วเถิด.
สามเณรเหล่านั้นได้ฟังดังนั้น จึงกระทำวัตรมีการต้อนรับเป็นต้น
แก่พระธรรมเสนาบดี แล้วนั่งเข้าสมาธิอยู่ในที่ไม่ไกลเกินไป ในเวลาที่
พระเถระผู้เป็นลุงทั้งสองปฏิสันถารกัน. พระธรรมเสนาบดีกระทำปฏิ-
สันถารกับพระเรวตเถระแล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปหาสามเณรเหล่านั้น เมื่อ

พระเถระเข้าไปหา สามเณรเหล่านั้นได้ลุกขึ้นไหว้แล้วยืนอยู่ เพราะได้ทำ
กำหนดเวลาไว้อย่างนั้น. พระเถระถามว่า พวกเธออยู่ด้วยธรรมเครื่อง
อยู่อย่างไหน ? เมื่อสามเณรเหล่านั้นบอกให้ทราบแล้ว จึงแนะนำแม้เด็ก
ทั้งหลายอย่างนั้น พลางสรรเสริญพระเถระว่า น้องชายของเรามีปกติ
กล่าวคำสัจจริงถึงผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ดังนี้แล้วหลีกไป.
คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาขทิรวนิยเรวตเถราปทาน

อานันทเถราปทานที่ 12 (10)


ว่าด้วยผลแห่งการกางฉัตรถวายพระพุทธเจ้า


[12] พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จออกจากประตู
พระอารามแล้ว ทรงเมล็ดฝนอมฤตให้ตก ยังมหาชนให้เย็น
สบาย.
พระขีณาสพผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น ประมาณหนึ่งแสน
ได้อภิญญา 6 มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดุจพระฉายาตามพระองค์ไปฉะนั้น.
เวลานั้น เราอยู่บนคอช้าง กั้นฉัตรขาวอันประเสริฐ ปีติ
เกิดแก่เรา เพราะได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระรูปโฉมงาม.
เราลงจากคอช้างแล้วเข้าไปเฝ้าพระนราสภ ได้กั้นฉัตร
แก้วของเราถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
พระมหาฤๅษีพระนามว่าปทุมุตตระ. ทรงทราบความดำริ
ของเราแล้ว ทรงหยุดกถานั้นไว้ แล้วตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดได้กั้นฉัตรอันประดับด้วยเครื่องอลังการทอง เราจัก
พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
บุรุษผู้นี้ไปจากมนุษยโลกแล้ว จักครอบครองภพดุสิต จัก
เสวยสมบัติ มีนางอัปสรทั้งหลายแวดล้อม.
จักเสวยเทวราชสมบัติ 34 ครั้ง จักเป็นอธิบดีแห่งชน
ครอบครองแผ่นดิน 800 ครั้ง จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 58
ครั้ง จักเสวยราชสมบัติในประเทศราชอันไพบูลย์ในแผ่นดิน.